๑. ด้านกายภาพ
๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชุม ตั้งอยู่บ้านเชิงชุม หมู่ที่ ๑ ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากอำเภอพรรณานิคม ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๙,๑๔๓ ไร่(จากการคำนวณโดยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์) หรือประมาณ ๖๒ ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบะหว้า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครและตำบลหนองลาด อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลนาหว้า และตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบะฮี อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลเชิงชุมมีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงค่อนข้างราบเรียบและมีแหล่งน้ำที่สำคัญในพื้นที่ เช่น ห้วยกุดน้ำขุ่น ห้วยไผ่น้อย และห้วยเตย เป็นต้น
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปมี ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ย ๑๕ องศาเซลเซียส ฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย ๓๘ - ๓๙ องศาเซลเซียสฤดูฝนอุณหภูมิเฉลี่ย ๓๐ - ๓๕ องศาเซลเซียส ลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดสกลนครมีดังนี้
- อุณหภูมิ มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ๒๖.๒ องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน ประมาณ ๓๖.๖ องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนธันวาคมประมาณ ๑๕.๗ องศาเซลเซียส
-ปริมาณน้ำฝน มีปริมาณน้ำฝนรวมตลอดปี ๑,๖๑๔.๘ มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในเดือนสิงหาคมประมาณ ๓๖๕.๔ มิลลิเมตร และต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ ๓.๗ มิลลิเมตร
- ความชื้นสัมพัทธ์ มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี ๗๓.๐ เปอร์เซ็นต์ โดยมีความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดในเดือนสิงหาคมประมาณ ๘๔ เปอร์เซ็นต์ และต่ำสุดในเดือนมีนาคมประมาณ ๖๒ เปอร์เซ็นต์ จากการวิเคราะห์สถานการณ์สมดุลของน้ำเพื่อการเกษตร โดยนำค่าศักยภาพการคายระเหยน้ำเฉลี่ยรายเดือน โดยพิจารณาจากช่วงระยะที่น้ำฝนอยู่เหนือระดับเส้น ๐.๕ ของค่าศักยภาพการคายระเหยน้ำเป็นหลัก พบว่า ระยะเวลาในการปลูกพืชที่เหมาะสมกับจังหวัดสกลนครอยู่ในช่วงกลางเดือนเมษายนถึงปลายเดือนตุลาคม ภูมิอากาศจากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นภาพรวมของทั้งจังหวัด เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านสถานีตรวจวัดอากาศ ในสภาพความเป็นจริงเมื่อพิจารณาแยกย่อยลงไปในระดับอำเภอ และตำบลจะมีลักษณะอากาศที่แตกต่างกันไปตามขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศเป็นสำคัญ
๑.๔ ลักษณะของดิน
ทรัพยากรที่ดินในตำบลเชิงชุม เมื่อพิจารณาตามสภาพพื้นที่พบว่าเป็นดินในที่ดอน และดินในที่ลุ่ม มีทั้งสิ้น ๑๒ กลุ่มชุดดิน โดยมีรายละเอียดสมบัติทางกายภาพและเคมี นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อื่นซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะต่อการทำเกษตรกรรม เช่น พื้นที่หินโผล่ พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (ภูเขา) แหล่งน้ำ เป็นต้น และยังพบว่ามีลักษณะดินที่เป็นปัญหาหลักต่อการทำการเกษตรของตำบลนี้ ดังนี้
๑) ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ลุ่ม มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐๑ ไร่ หรือร้อยละ ๑.๐๒ ของเนื้อที่ตำบล ประกอบด้วยกลุ่มชุดดินที่ ๑๗ ซึ่งสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ ความลาดชัน ๐ - ๒ เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย (pH ๕.๐ - ๖.๕) เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย และดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH ๕.๕ - ๖.๕)
๒) ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ดอน มีเนื้อที่ประมาณ ๘๐๓ ไร่ หรือร้อยละ ๒.๐๕ ของเนื้อที่ตำบล ประกอบด้วยกลุ่มชุดดินที่ ๔๐B และกลุ่มชุดดินที่ ๔๐Bb ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดมีการปรับพื้นที่เพื่อการทำนาเป็นบางบริเวณ พื้นที่มีความลาดชัน ๒ - ๕ เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำดีถึงค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH ๕.๐ - ๕.๕) เนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด(pH ๕.๐ - ๕.๕)
๓) ดินตื้นที่ลุ่ม มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒,๖๔๒ ไร่ หรือร้อยละ ๓๒.๓๐ ของเนื้อที่ตำบลประกอบด้วยกลุ่มชุดดินที่ ๒๕ ซึ่งสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ ความลาดชัน ๐ - ๒ เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำของดินดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินทรายปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH ๕.๐ - ๕.๕) เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนดินทรายปนกรวดหินมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH ๕.๐ - ๕.๕)
๔) ดินตื้นที่ดอน มีเนื้อที่ประมาณ ๑๖,๘๑๕ ไร่ หรือร้อยละ ๔๒.๙๖ ของเนื้อที่ตำบลประกอบด้วยกลุ่มชุดดินที่ ๔๙ ๔๙b และกลุ่มชุดดินที่ ๔๙Bb ซึ่งสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ การระบายน้ำของดินดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด(pH ๕.๐ – ๕.๕) เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนดินทรายปนกรวดหิน และดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH ๕.๐ – ๕.๕)
ดินตื้นเป็นดินที่มีหินปะปนอยู่ในเนื้อดินตั้งแต่ร้อยละ ๓๕ หรือมากกว่าโดยปริมาตรภายในความลึก ๕๐ เซนติเมตรจากผิวดิน หรือมีชั้นหินพื้นตื้นกว่า ๕๐ เซนติเมตรจากผิวดิน ดินตื้นเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็นดินน้อยทำให้มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและอุ้มน้ำต่ำ พืชจะขาดน้ำทำให้เหี่ยวเฉาไวกว่าพื้นที่อื่น แนวทางการจัดการและแก้ไข คือเลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนาและไม่มีเศษหินหรือก้อนหินอยู่บริเวณหน้าดินมาก เพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการเกษตรกรรมและการดูแลรักษาโดยการทำเกษตรแบบวนเกษตรหรือแบบผสมผสานไม่ทำลายไม้พื้นล่าง ขุดหลุมปลูกพร้อมปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา ๒๕ - ๕๐ กิโลกรัมต่อหลุม หรือปุ๋ยคอกอัตรา ๑๐ - ๒๐ กิโลกรัมต่อหลุมร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ใช้วัสดุคลุมดินหรือปลูกหญ้าแฝก เพื่อรักษาความชื้นและลดการกร่อนของดิน พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน สำหรับในพื้นที่ที่มีหินกระจัดกระจายอยู่บนดินมากไม่เหมาะสมต่อการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำที่สำคัญของตำบลเชิงชุม ประกอบด้วย แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ห้วยกุดน้ำขุ่น ห้วยไผ่น้อย และห้วยเตย และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ อ่างเก็บน้ำนาขาม ประปาหมู่บ้าน บ่อบาดาล และบ่อน้ำตื้น
๑.๖ ลักษณะของไม้และป่าไม้
ตำบลเชิงชุมอยู่นอกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าในเขตตำบลเชิงชุม มีลักษณะเป็นป่าดิบชื้น เป็นไม้ยืนต้นจำพวก ต้นจิก เต็ง รัง แดง ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เห็ดป่า จักจั่น ไข่มดแดง เป็นต้น
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
๒.๑ เขตการปกครอง
ตำบลเชิงชุมมีหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น ๑๐ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
ชื่อผู้นำหมู่บ้าน
ตำแหน่ง
๑
บ้านเชิงชุม
นายสงวน พรมหากุล
ผู้ใหญ่บ้าน
๒
บ้านถ่อน
นางวันเพ็ญ อันสุข
๓
บ้านกุดน้ำขุ่น
นายวิมล รัตนอาษา
๔
บ้านหนองครอง
นายขวัญชัย ปาทา
๕
บ้านสายร่องข่า
นายเกษมสุข จันลา
๖
บ้านโนนพอก
นายเสษฐี จิตอาคาะ
๗
บ้านนาขาม
นายเรืองชัย นาโควงค์
กำนัน
๘
บ้านถ่อนพัฒนา
นายเกรียงศักดิ์ ทิลารักษ์
๙
บ้านเชิงชุมพัฒนา
นายประทาน ทัศน์จันดา
๑๐
นายปัญญา ทิลารักษ์
๒.๒ การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชุม ได้แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น ๑๐ เขตเลือกตั้ง มีผู้บริหาร ๑ คน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละ ๒ คน รวมทั้งสิ้น ๒๐ คน ดังนี้
๑. นายสุธาวัฒน์ ศรีกุลกิจ สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๕ (ประธานสภาฯ)
๒. นายวีรพันธ์ สุราราช สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๘ (รองประธานสภาฯ)
๓. นายเดชารัตน์ ทัศน์จันดา สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๙ (เลขานุการสภาฯ)
๔. นายเมืองมนต์ ทัศน์จันดา สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๑
๕. นายทอม ทัศจันดา สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๑
๖. นายมงคล ค่ำคูณ สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๒
๗. นายวัชระ นาโควงค์ สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๒ (เสียชีวิต)
๘. นายสายันต์ รัตนอาษา สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๓
๙. นายปริญญา ลุนจักร สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๓
๑๐. นายสุพล เมืองดู่ สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๔
๑๑. นายประจักร จันลาวงค์ สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๔
๑๒. นายทอน นาโควงค์ สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๕
๑๓. นายอภิสิทธิ์ ทันธิมา สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๖
๑๔. นายเอกวัฒน์ โคตรพรม สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๖
๑๕. นายสุวรรณ พรมหากุล สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๗ (เสียชีวิต)
๑๖. นายสุทิน ทิลารักษ์ สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๗
๑๗. นายเสาร์ อาสาวัง สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๘
๑๘. นางประมวล ทัศน์จันดา สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๙
๑๙. นายเวิน สุนาพรม สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๑๐
๒๐. นายพิชัย เปรมปรีดิ์ สมาชิกสภา อบต.เชิงชุม หมู่ที่ ๑๐
๓. ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
จำนวนประชากร(คน)
รวมทั้งสิ้น
( คน)
จำนวน
(ครัวเรือน)
ชาย
หญิง
๓๐๙
๓๒๓
๖๓๒
๑๘๔
๓๐๘
๓๕๑
๖๕๙
๒๐๗
๑๗๑
๑๗๓
๓๔๔
๑๒๖
๑๑๑
๑๑๙
๒๓๐
๖๒
๒๑๓
๑๙๖
๔๐๙
๑๐๗
๑๘๘
๒๑๘
๔๐๖
๑๐๑
๒๙๖
๓๐๖
๖๐๒
๑๕๑
๒๖๙
๕๗๕
๑๘๒
๓๒๒
๓๔๘
๖๗๐
๒๐๔
๒๙๙
๒๙๒
๕๙๑
๑๖๘
รวม
๒,๔๘๖
๒,๖๓๒
๕,๑๑๘
๑,๔๙๒
ข้อมูล ณ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ จากสำนักงานทะเบียนราษฎร์อำเภอพรรณานิคม
๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ช่วงอายุประชากร
จำนวนเพศชาย
(คน)
จำนวนเพศหญิง
คน)
จำนวนรวม
น้อยกว่า ๑ ปี
๑ - ๕ ปี
๖ - ๑๐ ปี
๑๑ - ๑๕ ปี
๑๖ - ๒๐ ปี
๒๑ - ๒๕ ปี
๒๖ - ๓๐ ปี
๓๑ - ๓๕ ปี
๓๖ - ๔๐ ปี
๔๑ - ๔๕ ปี
๔๖ - ๕๐ ปี
๕๑ - ๕๕ ปี
๕๖ - ๖๐ ปี
มากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป
๑๒๘
๑๑๖
๑๓๓
๑๒๓
๗๘
๑๔๘
๑๖๒
๑๓๘
๑๑๕
๒๖๓
๘๓
๙๗
๑๒๗
๑๓๖
๑๑๐
๗๖
๑๕๕
๑๗๕
๑๔๐
๓๐๗
๑๕
๑๔๕
๒๒๕
๒๔๓
๒๓๓
๑๕๔
๒๓๘
๓๐๓
๓๓๕
๓๔๖
๒๗๘
๕๗๐
๑,๗๖๗
๑,๘๕๐
๓,๖๑๗
๔. สภาพทางสังคม
๔.๑ การศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนสถานศึกษา
ประเภทสถานศึกษา
ในเขตตำบลเชิงชุม
(แห่ง)
๑. ระดับก่อนวัยเรียน
๒. ระดับประถมศึกษา
๓. โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
๔. ระดับมัธยมศึกษา
-
๕. ระดับอาชีวศึกษา
รายชื่อโรงเรียน
จำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๙
ก่อนประถม
ป.๑ - ป.๖
ม.๑ - ม.๓
๑. โรงเรียนบ้านเชิงชุม
๒๘
๘๗
๔๔
๒. โรงเรียนบ้านถ่อน
๒๗
๓. โรงเรียนบ้านกุดน้ำขุ่น
๒๖
๔. โรงเรียนบ้านโนนพอก
๑๓
๕. โรงเรียนบ้านนาขาม
๓๐
๘๖
๒๖๖
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
ลำดับที่
ชื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
จำนวนนักเรียน
จำนวนผู้ดูแลเด็ก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงชุม หมู่ ๑
๒๔
๓๙
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายร่องข่า หมู่ ๕
๒๕
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาขาม หมู่ ๗
๑๖
๒๑
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านถ่อนพัฒนา หมู่ ๘
๓๓
๕๕
๖๓
๑๑๘
มี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๗ บ้านนาขาม
๕. ระบบบริการพื้นฐาน
๕.๑ การคมนาคมขนส่ง
จากอำเภอเมืองสกลนคร เดินทางโดยรถยนต์ตามเส้นทางหมายเลข ๒๒ เส้นทาง สายสกลนคร - อุดรธานี ประมาณ ๒๔ กิโลเมตร ถึงบ้านสูงเนิน เลี้ยวขวาไปถนนสาย ๒๓๕๕ บ้านสูงเนิน - อำเภออากาศอำนวย ระยะทาง ๑๓ กิโลเมตร ถึงตำบลเชิงชุม
๕.๒ การไฟฟ้า
ตำบลเชิงชุม เป็นชุมชนชนบท ระบบการไฟฟ้ายังขยายไม่ทั่วถึงทั้งตำบล ประชากรมีไฟฟ้าใช้ไม่ครบทุกครัวเรือน
๕.๓ การประปา
ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการบริการน้ำประปาจากระบบประปาประจำหมู่บ้าน แต่การขยายเขตประปายังไม่ทั่วถึงทุกครัวเรือน
๕.๔ โทรศัพท์
ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๐ ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งจะมีความสะดวกในการใช้และการติดต่อประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ
๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ตำบลเชิงชุมเป็นตำบลที่ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพรรณานิคม และส่วนราชการหลายแห่ง จึงอาศัยที่ทำการไปรษณีย์ประจำอำเภอพรรณานิคมที่ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงในเรื่องของการสื่อสารและการขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
๖. ระบบเศรษฐกิจ
๖.๑ การเกษตร
ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักคิดเป็นร้อยละ ๙๐ ของครัวเรือนทั้งหมด พืชที่เกษตรกรปลูกเป็นอาชีพหลัก ได้แก่ ข้าวนาปี ถั่วลิสง แตงโม แตง มะเขือเทศ ฟักทอง แคนตาลูปและไม้ผล ทางด้านการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ สุกร ไก่ ด้านการประมงมีการเลี้ยงปลาในบ่อ
๖.๒ การประมง
ในด้านของการประมง เกษตรกรใช้พันธุ์ส่งเสริมตามความต้องการของตลาดซึ่งมีการเลี้ยงหลายรูปแบบ เช่น การเลี้ยงปลาในบ่อ เลี้ยงในนาข้าว
๖.๓ การปศุสัตว์
เกษตรกรเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพรอง ซึ่งเป็นการเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายและบริโภค ได้แก่ โค กระบือ สุกร และไก่ นิยมเลี้ยงพันธุ์ส่งเสริม มีการปรับปรุงพันธุ์อยู่ตลอดเวลา มีการป้องกันโรคที่จะเกิดกับสัตว์โดยการให้วัคซีนตามระยะเวลา
๖.๔ การบริการ
ประเภท
ร้านค้า
๔๘
โรงสีข้าว
๑๘
ตู้โทรศัพท์
ร้านตัดผม/ร้านเสริมสวย
บ่อนไก่
ฟาร์มไก่
รีสอร์ท
ร้านซ่อมรถ
สถานีวิทยุชุมชน
บ้านเช่า
๑๑
โรงหล่อซีเมนต์
๑๒
ร้านอาหาร
ร้านอินเตอร์เน็ต
๑๔
คาร์แคร์
ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ
ฟาร์มหมู
เขตตำบลเชิงชุม ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
๖.๖ อุตสาหกรรม
เขตตำบลเชิงชุม ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
เกษตรกรมีการรวมกลุ่มแบบกลุ่มธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือให้คำแนะนำกันภายในกลุ่ม เช่น กลุ่มปลูกพริก กลุ่มผู้เลี้ยงวัว กลุ่มผู้เพาะเห็ด กลุ่มปลูกพืชฤดูแล้ง กลุ่มทอผ้า เป็นต้น
๗. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
๗.๑ ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
๗.๒ ข้อมูลด้านการเกษตร
พื้นที่ถือครอง
(ไร่)
พื้นที่การเกษตร (ไร่)
ทำนา
ทำสวน
ทำไร่
อื่นๆ
๒,๙๐๐
๒,๐๐๐
๖๘
๓,๖๔๐
๗๔
๗๐
๔,๐๐๐
๒๒
๑,๘๘๐
๓๑
๓,๕๐๐
๑,๐๒๓
๗๕
๒,๗๕๐
๒,๕๕๐
๒๐
๔๐๐
๑๘๐.๕
๖๐
๓,๐๐๐
๒,๕๐๐
๔๐
๒,๒๗๑
๒,๐๑๕
๑๑,๒๐๒
๑,๑๒๐
๓๔
๗.๓ ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
เกษตรกรในพื้นที่ใช้น้ำฝน ห้วย คลอง บ่อบาดาล สระ และการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในการทำการเกษตร
๗.๔ ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
ประชาชนในเขตตำบลเชิงชุมส่วนใหญ่ใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค จากน้ำประปาประจำหมู่บ้านของแต่ละหมู่บ้าน
๘. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
๘.๑ การนับถือศาสนา
ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชุม นับถือศาสนาพุทธ สถาบันและองค์กรทางศาสนาในพื้นที่ ประกอบด้วยวัด ๙ แห่ง และสำนักสงฆ์ ๒ แห่ง ได้แก่
ชื่อ
สถานที่ตั้ง
วัด
๑. วัดศรีแก้วเทพนิมิต
บ้านเชิงชุม หมู่ ๑
๒. วัดสามัคคีธรรม
บ้านถ่อน หมู่ ๒
๓. วัดสุวรรณวารี
บ้านกุดน้ำขุ่น หมู่ ๓
๔. วัดบ้านหนองครอง
บ้านหนองครอง หมู่ ๔
๕. วัดปุญญาภิรตาราม
บ้านสายร่องข่า หมู่ ๕
๖. วัดสมโภชน์สังฆาราม
บ้านโนนพอก หมู่ ๖
๗. วัดสันติวนาราม
บ้านนาขาม หมู่ ๗
๘. วัดศรีบุญเรือง
บ้านเชิงชุมพัฒนา หมู่ ๙
๙. วัดท่าวังหิน
สำนักสงฆ์
๑๐. สำนักสงฆ์ป่าช้าบ้านถ่อน
บ้านถ่อนพัฒนา หมู่ ๘
๑๑. สำนักสงฆ์ทุ่งสีสวย
๘.๒ ประเพณีและงานประจำปี
ประชากรส่วนใหญ่ เชื้อชาติเดิมเป็นภูไท มีบุญประเพณีที่ถือปฏิบัติเป็นประจำแต่ละเดือน ดังนี้
เดือนอ้าย บุญสู่ขวัญข้าว คือ เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อย จะนำข้าวส่วนหนึ่งตามศรัทธาไปรวมกันที่วัดแล้วนิมนต์พระมาสวดทำพิธีเพื่ออัญเชิญคุณข้าว
เดือนสาม บุญข้าวจี่ คือ เมื่อถึงวัน ๑๕ ค่ำ เดือนสาม จะนำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนแล้วนำไปจี่ โดยนำข้าวจี่ไปตักบาตร
เดือนสี่ บุญพระเวส คือ บุญประเพณีที่ทำกันอย่างใหญ่โต มีการแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง มีการเทศน์มหาชาติและการขอฟ้าขอฝน
เดือนห้า บุญสงกรานต์ คือ บุญประเพณีประจำปี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๒-๑๕ เมษายน ของทุกปี มีการทำบุญสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและผู้ที่เคารพนับถือ รวมทั้งการขอพรจากผู้สูงอายุ ผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน
เดือนแปด บุญเข้าพรรษา คือ บุญประเพณีที่ชาวบ้านจะไปทำบุญ แห่เทียน ผ้าอาบน้ำฝน ถวายพระที่วัดเพื่อพระสงฆ์จะได้จำพรรษาได้ตลอด ๓ เดือน
เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน คือ บุญประเพณีที่ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารไปทำบุญที่วัดและแบ่งข้าวปลาอาหารจำนวนหนึ่ง ไปบูชาดิน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นดิน
เดือนสิบ บุญข้าวสารท คือ บุญประเพณีที่ชาวบ้านจะนำข้าวห่อเล็ก อาหารหวานคาว และกระยาสารท ซึ่งทำจากข้าวตอก ถั่ว งา น้ำตาล มะพร้าว คลุกให้เข้ากัน นำถวายพระ
เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา คือบุญประเพณีที่เมื่อถึงวันออกพรรษา ชาวบ้านจะไปเวียนเทียนที่วัด ก่อนวันออกพรรษา บางหมู่บ้านจะมีการแห่ปราสาทผึ้ง โดยนำขี้ผึ้งมาทำเป็นรูปปราสาทแห่ไปถวายวัด รุ่งขึ้นจึงเป็นวันออกพรรษา ในตอนเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร
เดือนสิบสอง บุญกฐิน คือ บุญประเพณี เมื่อออกพรรษาแล้ว ทุกหมู่บ้านจะมีการทอดกฐินถวายที่วัดในหมู่บ้าน หรือวัดอื่นๆ ตามศรัทธา ส่วนบุญผ้าป่านั้นจะทำได้ทุกเดือนตามแต่ศรัทธา
ความเชื่อ ประชากรส่วนใหญ่มีความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันเป็นประจำ คือ การนับถือผี เช่น ผีหลักเมือง ผีปู่ตา หมอเหยา หมอดู ผีบ้านผีเรือน ผีป่า ผีนา ฯลฯ
๘.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ ได้แก่ การทำผ้าย้อมคราม ซึ่งเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการผลิตตลอดปี วัสดุในการย้อมครามสามารถหาได้ในท้องถิ่น หมู่บ้านที่ดำเนินการ ข้อจำกัดยังขาดการเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาด
ภาษาถิ่นที่ใช้ ได้แก่ ภาษาภูไท และภาษาไทกะเลิง
๘.๔ สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ผ้าย้อมคราม ซึ่งมีหลากหลายแบบ เช่น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เสื้อ ผ้าซิ่น กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น
๙. ทรัพยากรธรรมชาติ
๙.๑ น้ำ ที่ใช้ในการทำการเกษตรเป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำจากลำห้วยต่างๆ เช่น ลำห้วยเตย ลำห้วยไผ่ ลำห้วยลัดเซา อ่างเก็บน้ำบ้านนาขาม หนองพังงา ลำห้วยหิน เป็นต้น
๙.๒ ป่าไม้ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชุม มีป่าไม้สาธารณประโยชน์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน เช่น เห็ด หน่อไม้ ไข่มดแดง ผักหวาน ดอกกะเจียว เป็นต้น
๙.๓ ภูเขา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชุม ไม่มีภูเขา
๙.๔ คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ในพื้นที่ในเขตตำบลเชิงชุมส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรเพียงพอ